ทำไมต้องใช้เชื้อจุลินทรีย์บาซิลลัส ซับทิลิส
เชื้อบาซิลลัส ซับทิลิส สายพันธุ์ที่ใชในการผลิต B-SoyDigest นั้นได้ผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์จาก 700,000 สายพันธุ์ทั่วโลก โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ว่ามีคุณสมบัติในการเป็นโปรไบโอติก (Pro-biotic) ที่เด่นชัดมาก เช่น
- ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียอีโคไล (E. Coli) และซัลโมเนลล่า (Salmonella spp.) ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์เกิดอาการท้องเสียได้ โดยการแย่งพื้นที่ในการยึดเกาะผนังลำไส้ของสัตว์ ช่วยเคลือบผนังลำไส้ ไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคยึดเกาะผนังลำไส้ได้ ทำให้สามารถช่วยลดอาการท้องเสียจากเชื้อ อี. โคไล ได้
- เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่มีอยู่ในร่างกายสัตว์ เป็นการเพิ่มปริมาณและช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่มีอยู่แล้วในร่างกายจึงส่งผลให้สุกรมีอัตราการเจริญเจริญเติบโตที่ดี ADG สูงขึ้น FCR ลดลง
- เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถทนต่อระดับความเป็นกรดในระบบทางเดินอาหาร และสามารถทนความร้อนในการผลิตอาหารได้เป็นอย่างดี
การทดสอบการทนความร้อนที่ของเชื้อ B-Ls
ปริมาณเชื้อ CFU/ml
ก่อนต้ม 4.27 x 108
หลังต้ม 3.36 x 108
2. การอัดเม็ดอาหารสัตว์ ด้วยเครื่องอัดเม็ดอาหารสัตว์ขนาด 25 ตัน/ชม.
ตำแหน่งที่เก็บตัวอย่าง ปริมาณเชื้อ CFU/ml
เครื่องผสมเย็น(Mixer) 3.80 x 108
ตู้เป่าเย็น (Cooler) 1.05 x 108
ขบวนการผลิตเป็นอย่างไร?
- ในขบวนการผลิต B-Soy Digest เป็นเรื่องที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งทางบริษัทฯผู้ผลิตได้ร่วมมือกับทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ได้ทำการวิจัยและพัฒนาขบวนการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยจากประเทศญี่ปุ่น และขบวนการผลิตอยู่ในระบบปิดทั้งหมด เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพการหมักสูงสุด, ได้คุณค่าทางอาหารสูง และยังสามารถลดการปนเปื้อนของเชื้ออื่นๆที่ไม่ต้องการได้อีก
จากขบวนการหมักด้วยเชื้อจุลินทรีย์ Bacillus subtilis ทำให้ได้คุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะ ไลซีน และยังทำให้ถั่วเหลืองที่ผ่านการหมักแล้วมีความทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เช่น การทนต่อความเป็น กรด-ด่าง และอุณหภูมิที่สูง โดยจุลินทรีย์ Bacillus subtilis ย่อยสารอาหารที่มีในถั่วเหลืองให้อยู่ในรูปของสารอาหารที่ย่อยและดูดซึมได้ง่ายขึ้น ซึ่งในขบวนการหมักทำให้ได้เอ็นไซม์ต่างๆ เช่น Amylase, Protease, Lipase, Hemi-cellulase, Xylanase, β-Glucanase และ Phytase มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น
ที่มา : น.สพ.ฐิติพงษ์ ศรีสมวงษ์
Techical Advisor (Nutrition Specialist)
นิตยสาร PIG AND PORK ปีที่ 6 ฉบับที่ 67/2554